2
ย้อนรอยบรรพบุรุษชาวจีนจากสมัยหินถึงยุคชุนชิว
ไซซีและนางพญาหน้าด่าง
ตามตำนานความเชื่อและเทพนิยายของจีน
อาจถือว่าผันกู่คือผู้เปิดแผ่นฟ้าสร้างแผ่นดิน
หนู่วาและพี่ชายคือผู้ให้กำเนิดมนุษยโลกดังกล่าวแล้ว
แต่ตามหลักฐานทางโบราณคดีซึ่งได้มีการขุดค้นหาหลักฐานบรรพบุรุษของชาวจีนหลายครั้งในหลายพื้นที่ พบว่าในบริเวณผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล
ซึ่งมีธารน้ำหวงเหอและฉางเจียงเป็นประหนึ่งสายโลหิตนี้
ได้มีมนุษย์อาศัยอยู่แล้วตั้งแต่ประมาณ 1,700,000
ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย หลักฐานที่สำคัญ
คือ การขุดพบโครงกระดูกของมนุษย์หยวนโหม่ว ที่อำเภอหยวนโหม่ว มณฑลยูนนาน เมื่อปี พ.ศ.2508 ถัดจากนั้นมาก็เป็นโครงกระดูกมนุษย์หลันเถียน พบที่อำเภอหลันเถียน
มณฑลส่านซี ชึ่งมีอายุประมาณ 500,000–600,000 ปีมาแล้ว
พัฒนาการสืบเนื่องมาจนเมื่อประมาณ 400,000–500,000 ปีมาแล้วก็เป็นยุคของมนุษย์ปักกิ่ง
ต่อจากนั้นมาก็เป็นมนุษย์ติงชุนและมนุษย์ซานติ่ง
ซึ่งมีอายุประมาณ 100,000 และ 18,000 ปีมาแล้วตามลำดับ
นับวันเวลาจากยุคของมนุษย์หยวนโหม่วถึงมนุษย์ซานติ่งนี้
นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีของจีนได้จัดให้อยู่ในยุค “ยุคหินเก่า”
ถึงยุคหินใหม่
ปรากฏหลักฐานซึ่งแสดงใหัเห็นถึงวัฒนธรรมของมนุษย์ในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำหวงเหอและฉางเจียงเป็น
3 กลุ่มด้วยกัน คือ วัฒนธรรมหยางเซ่า(ประมาณ 7,000-5,000
ปีมาแล้ว) วัฒนธรรมเหวินโข่ว(5,000 ปีมาแล้ว)
และวัฒนธรรมหลงซาน(4,000 ปีมาแล้ว)
ในยุคหินใหม่นี้ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว
เรื่องราวที่เกี่ยวกับมนุษย์ในยุคนี้จึงมีแต่เรื่องเล่าที่สืบทอดกันต่อมาจนกลายเป็นตำนานและนิยายปรัมปราในยุคต่อมา
และในยุควัฒนธรรมหลงซานนี่เองที่มีหลักฐานบางอย่างชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของสังคมบุพกาล
ซึ่งคลี่คลายไปสู่สังคมทาสแล้ว
ในที่สุดระหว่างตำนานและนิยายปรัมปรากับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีก็มาบรรจบกัน
ตั้งแต่เมื่อเมื่อสังคมทาสได้ปรากฏตัวขึ้นอย่างชัดเจน
และมีการสถาปนาราชวงศ์เชี่ยอันเป็นราชวงศ์แรกที่มีหลักฐานปรากฏชัด
รัฐทาสราชวงศ์เซี่ยมีอายุได้ประมาณสี่ร้อยคือ
ตั้งแต่ประมาณ 1663-1223 ปีก่อนพุทธศักราช มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 17 องค์ ท่ามกลางการต่อสู้ทางชนชั้นที่รุนแรงและยาวนาน
ในที่สุดวาระสุดท้ายของราชวงศ์ก็มาถึงเมื่อกษัตริย์องค์สุดท้ายคือ “เจี๋ย”
ซึ่งเป็นยุคที่มีการกดขี่ขูดรีดประชาชนอย่างหนักหน่วง จนทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านอย่างกว้างขวาง เป็นผลให้ “ซางทาง”
หัวหนัาชนเผ่าซางฉวยโอกาสยึดอำนาจจากกษัตริย์เจี๋ยได้สำเร็จแล้วสถาปนาราชวงศ์ซางขึ้นมาแทน
ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ได้ประมาณหกร้อยปี
คือตั้งแต่ 1223-579 ปีก่อนพุทธศักราช มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์
กษัตริย์ราชวงศ์ซางองค์แรกๆ
ยังคงเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของประชาชนและตั้งพระทัยมั่นในอันที่จะทะนุบำรุงความสงบสุขให้กับเหล่าอาณาประชาราษฎร
แต่เมื่อมีการสืบต่อสันตติวงศ์มาเรื่อยๆ
การกดขี่ข่มเหงประชาชนก็เกิดขึ้นและรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ
เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในปลายสมัยราชวงศ์เซี่ย
ในที่สุดเมื่อถึงรัชสมัยของกษัตริย์ทรราชโจ้วหวาง
ซึ่งได้สรัางความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างรุนแรงหนักหน่วง
ทำให้“โจวอู่หวาง”เจ้าแห่งแคว้นโจวสามารถ
นำกองทัพแคว้นโจวเข้ายึดอำนาจจากโจ้วหวางได้สำเร็จ
สถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแผ่นดินแทนราชวงศ์ซางเมื่อประมาณ 579
ปีก่อนพุทธศักราช
ราชวงศ์โจวยุคแรกหรือ“โจวตะวันตก”(579-227
ปีก่อนพุทธกาล) มีฐานะมั่นคงอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงราวประมาณปีที่ 234
ก่อนพุทธศักราช
ชนกลุ่มน้อยเผ่าซีหยงได้ยกกองทัพเข้าตีนครเฮ่าจิงฆ่าโจวอิงหวางตายขึ้นครองอำนาจแทน แต่ในอีก 7 ปีต่อมา
กองทัพผสมของเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ
ได้ร่วมมือกันยกทัพมาขับไล่พวกเผ่าซีหยงออกจากเมืองเฮ่าจิง
แล้วสถาปนายี่จิ้วองค์รัชทายาทราชวงศ์โจวขึ้นเป็นกษัตริย์มีนามว่า
“โจวผิงหวาง”
จากนั้นโจวผิงหวางก็ได้ยัายเมืองหลวงจากภาคตะวันตกไปตั้งอยู่ที่เมืองโล่
หยางทางภาคตะวันออก ราชวงศ์โจวในยุคนี้จึงเรียกว่า “ราชวงศ์โจวตะวันออก”
นับแต่นั้นมาราชวงศ์โจวก็อ่อนแอลงตามลำดับ
อำนาจทางการเมืองที่แท้จริงในยุคนี้จึงตกไปอยู่กับเจ้าผู้ปกครองแคว้นต่างๆ
ซึ่งมีหลักฐานว่าในช่วงแรกๆ นั้นมีมากกว่า 170 แคว้น แต่ที่ราชวงศ์โจวไม่ล่มสลายลงในระยะนี้
ล้วนสืบเนื่องจากการที่เจ้าผู้ปกครองแคว้นต่างๆ
ยังต้องการที่จะใช้เป็นกษัตริย์ราชวงศ์โจวเป็นหุ่นเชิด
เพื่อเป็นข้ออ้างให้การกระทำการขยายอำนาจของตนเพื่อครอบครองแคว้นอื่นๆ
ดูราวกับว่าเป็นการกระทำที่ชอบธรรมในสายตาของคนทั่วไป ด้วยอ้างเป็นการกระทำในนามของราชวงศ์โจวเพื่อกำราบผู้กระด้างกระเดื่องเท่านั้นเอง
สมัยราชวงศ์โจวตะวันออก แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคชุนชิวหรือยุคฤดูใบไม้ผลิใบไม้ร่วง (227
ก่อนพุทธกาลถึง พ.ศ.67) และยุคจ้านกว๋อหรือยุครณรัฐ (พ.ศ.67-322)
สมัยราชวงศ์โจวตะวันออกนี้เป็นสมัยที่บรรดาแคว้นต่างๆ
ได้ก่อสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่อยู่ตลอดเวลา
อีกทั้งยังถือว่าเป็นยุคทองของปรัชญาและศิลปวัฒนธรรมจีนอีกด้วย
ในต้นยุคชุนชิว
รูปแบบการผลิตในระบบทาสที่ดำรงอยู่มาเป็นเวลายาวนานก็เริ่มส่อเค้าของความคลอนแคลนให้เห็นอย่างเด่นชัด
ทั้งนี้ล้วนสืบเนื่องมาจากการที่เจ้าผู้ปกครองแคว้นต่างๆ
ต่างก็ต้องการที่จะมีอำนาจเหนือแคว้นอื่นๆ จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งผลผลิตด้านต่างๆ
ให้พอเพียงสำหรับการใช้จ่ายในการทำสงครามที่ยืดเยื้อยาวนาน
การขยายตัวของระบบการผลิตเช่นนี้จึงเป็นผลให้รูปแบบของการขูดรีดคลี่คลายไปสู่ระบบศักดินา และเข้าสู่ระบบศักดินาโดยสมบูรณ์แบบอย่างชัดแจ้งในยุคจ้านกว๋อ
ด้วยเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตเช่นนี้
ยังผลให้บรรดาแคว้นต่างๆ ที่มีอยู่มากกว่า 170 แคว้นในยุคต้นๆ ของยุคชุนชิว
ได้รวมตัวกันโดยการยึดครองของแคว้นที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและกำลังพลที่เหนือกว่า ทำให้เหลือแคว้นใหญ่ๆ อยู่เพียง 6 แคว้น คือ ฉี
จิ้น ฉู่ หวู่ ฉิน และเยว่ ซึ่งบรรดาแคว้นใหญ่ๆ เหล่านี้ต่างก็ทำสงครามรบพุ่งกันอยู่ตลอดเวลา
จึงนำไปสู่การพัฒนารูปแบบของการทำสงครามอยู่เรื่อยๆ
ตำราพิชัยสงครามของซุนหวู่อันถือเป็นตำราพิชัยสงครามชิ้นเอกของจีนจึงเกิดขึ้น และได้พัฒนาไปสู่ตำราพิชัยสงครามฉบับต่างๆ
ในยุคต่อมา
ว่ากันว่าสงครามระหว่างแคว้นต่างๆ ในยุคนี้จะมีสงครามย่อยๆ
อยู่ตลอดปี
และในแต่ละปีจะมีสงครามใหญ่ประมาณสองครั้งในราวฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง
จึงทำให้เรียกชื่อยุคนี้เป็นยุคชุนชิวหรือยุคฤดูใบไม้ร่วงใบไม้ผลิ
เหตุการณ์สงครามที่เกิดขึ้นไม่เว้นในแต่ละปีนั้น
สงครามระหว่างแคว้นหวู่กับแคว้นเยว่ระหว่างปี พ.ศ.47-70
นับเป็นสงครามที่มีผู้กล่าวถึงกันมาก
ทั้งนี้เพราะเป็นสงครามที่มีการบันทึกไว้อย่างละเอียด
ทั้งในรูปแบบของบันทึกประวัติศาสตร์และในรูปแบบของตำนานและนิยายพื้นบ้าน
อีกทั้งยังมีผู้นำเอาเรื่องราวเหตุการณ์และบุคคลในสงครามครั้งนี้มาแต่งเป็นนิยายกำลังภายในและสร้างเป็นภาพยนตร์กำลังภายในหลายต่อหลายครั้ง นี่อาจเป็นเพราะเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง คือ
เหตุการณ์ในช่วงนี้ในหน้าประวัติศาสตร์จีนได้เกิดมีหญิงงามผู้หนึ่งที่ยอมเสียสละความสุขส่วนตน
เพื่อความอยู่รอดของชาติบ้านเมือง หญิงงามนางนั้นคือ “ไซซี” ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหญิงงามอันดับหนึ่งในพงศาวดาร
ไซซีได้ชื่อว่าเป็นหญิงงามในประวัติศาสตร์จีนที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างไม่เสื่อมคลายจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่านอกจากความงดงามที่ยากจะหาหญิงใดมาเปรียบแล้ว นางยังเป็นหญิงที่เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความอยู่รอดของชาติบ้านเมืองเหนือกว่าผู้ชายอีกเป็นจำนวนมาก
เรื่องราวของนางจึงถูกบันทึกอยู่ในความทรงจำของชาวจีนมากว่าสองพันปี
ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด “ไซซี”
เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในยุคนี้
ตัวละครสำคัญของเรื่องนับแต่ไชซีซึ่งเป็นตัวละครเอก เยว่อ๋องโกวเจี้ยน
เจ้าผู้ครองแคว้นเยว่ (หรือเวียด) หวู่หวางฟูไซ-เจ้าผู้ครองแคว้นหวู่
ฟ่านหลีและเหวินจ้ง ขุนนางคนสำคัญของแคว้นเยว่ผู้เป็นเจ้าของแผนการ “กลสาวงาม”
ขุนนางตงฉินหวู่จื่อซีแห่งแคว้นหวู่ ผู้จำต้องพลีชีพตนเองด้วยความสัตย์ซื่อ
และป๋อผี่คนทรยศแห่งแคว้นหวู่ที่เห็นแก่อามิสสินจ้างมากกว่าความอยู่รอดของชาติบ้านเมืองตน
เหล่านี้ล้วนถูกนำมาต่อเติมเสริมแต่งให้มีชีวิตชีวาดั่งว่าภาพความจริงแห่งประวัติศาสตร์ในยุคนั้นได้มาปรากฏอยู่เบื้องหน้าผู้ชมฉะนั้น
ที่จริงแล้วเรื่องราวของไซซีและยุทธการสาวงามของแคว้นเยว่ในครั้งนั้นเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คนไทยมานานแล้ว
ทั้งในรูปของภาพยนตร์และข้อเขียนในเชิงสารคดีและนิยาย
แต่เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ไม่เคยได้รับรู้และเพื่อความสมบูรณ์ของเนี้อหา
ผู้เขียนจึงขอกล่าวถึงไว้ในที่นี้ด้วยอย่างย่อๆ ดังนี้
ในประวัติศาสตร์จีนได้บันทึกเหตุการณ์สงครามระหว่างแคว้นหวู่กับแคว้นเยว่ไว้ว่า ในปี พ.ศ.47
แคว้นหวู่กับแคว้นเยว่ทำสงครามกันที่ตำบลจุ้ยหลี
หว่หวางเหอลูถึงแก่กรรมในระหว่างที่ถอยทัพกลับด้วยความพ่ายแพ้
ฟูไซผู้เป็นบุตรจึงได้ขึ้นเป็นหวาง(อ๋อง)แทนบิดา ในอีกสองปีต่อมา หวู่หวางฟูไซจึงให้หวู่จื่อซีและป๋อผี่ยกกองทัพเรือเข้าโจมตีแคว้นเยว่
เยว่หวางโก้วเจี้ยนไม่อาจที่จะต่อต้านทัพแคว้นหวู่ได้
จึงต้องใช้แผนการยอมอัปยศเพื่อความอยู่รอดของฟ่านหลีและเหวินจ้งยอมตนเป็นเชลยเป็นคนเลี้ยงม้าของฟูไซ
และพยายามที่จะแสดงตนให้เห็นว่ามีความสวามิภักดิ์ต่อฟูไซอย่างจริงใจ
จนฟูไซเกิดความซาบซึ้งและไว้เนี้อเชื่อใจ
นอกจากนั้นแล้วด้วยการติดสินบนของเหวินจ้งต่อป๋อผี่
ทำให้แผนการแรกนี้เป็นไปได้ด้วยดี
ดังนั้น
เมื่อเห็นว่าโกวเจี้ยนมีความสวามิภักดิ์อย่างจริงใจ
ฟูไซจึงได้ปล่อยตัวโกวเจี้ยนและภรรยากลับบ้านเมืองในปี พ.ศ.52
โดยไม่ยอมรับฟังคำทัดทานของหวู่จื่อซี
เมื่อโกวเจี้ยนกลับถึงแคว้นเยว่
ก็ตั้งปณิธานที่จะทำนุบำรุงแคว้นเยว่ให้มั่นคงเข้มแข็งเตรียมการต่อต้านแคว้นหวู่เพื่อล้างความอัปยศ ทั้งได้ให้จัดเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์เสบียงอาหารให้พร้อมสำหรับการเปิดยุทธการครั้งใหม่ตามคำแนะนำของฟ่านหลีและเหวินจ้ง
พร้อมกันนั้นก็วางแผนการทะลุทะลวงแคว้นหวู่มาจากภายใน โดยใช้กลสาวงาม
โดยให้เฟ้นหาสาวงามส่งไปยังแคว้นหวู่เพื่อยั่วยวนให้ฟูไซหลงใหลในสุรานารี
จนละเลยกิจการบ้านเมือง
แผนการทั้งสองนี้เป็นไปด้วยดี
ทั้งนี้เพราะเมื่อหวู่หวางฟูไซทราบข่าวการเตรียมของแคว้นเยว่
ฟูไซเชื่อคำของป๋อผี่ที่เห็นว่าการที่แคว้นเยว่ทำนุบำรุงบ้านเมืองจนเข้มแข็ง
จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้อย่างพร้อมสรรพนั้น เป็นการเตรียมตัวเพื่อป้องกันการรุกรานจากแคว้นอื่นมิใช่แคว้นหวู่
แผนที่สองนั้นเล่าก็สำเร็จด้วยดีโดยการที่ฟ่านหลีสามารถที่จะเฟ้นหาสาวงามสองนางคือไซซีและเจิ้งตั้นได้
จึงนำหญิงสาวทั้งสองไปฝึกหัดฟ้อนรำขับร้องและฝึกกิริยามารยาท แล้วจึงนำทั้งสองไปถวายเป็นบรรณาการแก่ฟูไซ
โดยที่สาวงามทั้งสองนางนี้เต็มใจที่จะปฏิบัติการให้ลุล่วงไปตามแผนการทั้งหมดเพื่อชาติบ้านเมือง
ไซซีได้อาศัยความงดงามแห่งเรือนร่างแลกิริยามารยาทศิลปการขับร้องฟ้อนรำที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี
ยั่วยวนให้ฟูไซหลงใหลคลั่งไคล้จนไม่เป็นอันว่าราชการงานเมือง
แม้หวู่จื่อซีจะพยายามเตือนสติมิให้ลุ่มหลงหญิงงามแต่ฟูไซหาได้รับฟังไม่ ดังนั้นอีกไม่กี่ปีต่อมาแคว้นหวู่ก็ทรุดโทรมลงตามลำดับ
มีศึกรอบด้าน
อีกทั้งเศรษฐกิจเล่าก็ตกต่ำอย่างรุนแรง
ในขณะที่แคว้นเยว่นั้นได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร
ชั่วระยะเวลาเพียงห้าปีก็มีความเข้มแข็งขึ้นอย่างผิดหูผิดตา
ด้วยแรงยุยงส่งเสริมของป๋อผี่ผู้ได้รับอามิสสินจ้างจากแคว้นเยว่
ในที่สุดฟูไซก็ประทานกระบี่ให้หวู่จื่อซีฆ่าตัวตาย
หลังจากที่หวู่จื่อซีพยายามคัดค้านการกระทำของหวู่อ๋องฟูไซอยู่ตลอดเวลาด้วยความสัตย์ซื่อ
เมื่อสิ้นหวู่จื่อซีที่เปรียบเสมือนแขนขวาแล้ว ฐานะของฟูไซก็เริ่มง่อนแง่นและรอวันการล่มสลาย ทั้งนี้เพราะหาคนคอยเตือนสติด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่ได้อีกแล้ว
ในปี พ.ศ.61
ฟูไซได้เดินทางไปชิงชัยตำแหน่งผู้นำหวางกับจิ้นหวางที่ตำบลหวงฉือ
เยว่หวางโกวเจี้ยนจึงฉวยโอกาสนี้ยกกองทัพเข้าตีแคว้นหวู่จนพินาศย่อยยับ ต่อมาในปี พ.ศ. 70
แคว้นหวู่ก็ถูกผนวกเข้ากับแคว้นเยว่ นับเป็นความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงของฟูไซ ในที่สุดฟูไซก็ถูกบีบบังคับให้ฆ่าตัวตาย
โกวเจี้ยนจึงได้ขึ้นเป็นผู้นำแห่งหวาง(อ๋อง)ทั้งปวง และล้างความอัปยศในอดีตได้สำเร็จ
ภายหลังจากที่แคว้นหวู่พินาศย่อยยับแล้ว เรื่องราวของไชซีก็มีการเล่ากันหลายกระแส แต่ที่เชื่อกันว่าน่าจะเป็นไปได้ก็คือ
ฟ่านหลีได้นำนางหนีไปครองรักกันอย่างมีความสุขในชนบท
ทั้งนี้เพราะนางและฟ่านหลีมีความรักต่อกันมาก่อนที่นางจะตัดสินใจเสียสละตนเองในครั้งนี้
ส่วนฟ่านหลีเองนั้นรู้ดีว่าหากนำนางกลับแคว้นเยว่ก็ยากยิ่งที่จะได้ครอบครองนาง และไม่แน่ใจในสถานะของตนว่านับแต่นี้ไปจะมีความมั่นคงสักแค่ไหน
หลังจากที่ข่าวคราวของฟ่านหลีและไซซีเงียบหายไปนาน
ก็ได้มีจดหมายฉบับหนึ่งของฟ่านหลีที่เขียนถึงถึงเหวินจ้ง ความตอนหนึ่งว่า“ล่ากระต่ายได้แล้ว เขามักฆ่าหมาไล่เนี้อ ประเทศคู่ศึกพินาศ มักพิฆาตผู้วางแผน ท่านจงรีบหนีไปจากแคว้นเยว่เถิด”
แต่เหวินจ้งไม่เชื่อ
ด้วยคิดว่าตนเองนั้นเป็นบุคคลที่โกวเจี้ยนให้ความไว้วางใจและประกอบความดีความชอบไว้มาก
นับได้ว่าเป็นความผิดพลาดอย่างรุนแรงที่สุดของเหวินจ้งที่คิดเช่นนั้น ทั้งนี้เพราะหลังจากนั้นอีกไม่นานนักโกวเจี้ยนก็ได้ประทานกระบี่ให้เหวินจ้งฆ่าตัวตาย
อันเป็นการตายที่เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่หวู่จื่อซีต้องตายเพราะแผนการของเหวินจ้งในครั้งกระโน้น
หากจะกล่าวว่านี่คือ “ดาบนั้นคืนสนอง” ก็คงจะไม่ผิดพลาดมากนัก
ก่อนตาย
เหวินจ้งเสียใจอย่างยิ่งที่มิเชื่อคำเตือนของฟ่านหลี แต่เขาจะกระทำอย่างไรได้แล้วในเวลานั้น นับว่าคำกล่าวของฟ่านหลีเป็นจริงอย่างยิ่ง
และอาจนับเป็นสัจธรรมในวงการเมืองทุกยุคสมัยก็ว่าได้
เพราะเหตุการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นอีกนับครั้งไม่ถ้วน มิเคยขาดหายไปจากประวัติศาสตร์การเมืองมาจนกระทั่งปัจจุบัน
ภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งที่อาศัยเค้าเรื่องจากประวัติศาสตร์ในยุคนี้คือเรื่องนางพญาหน้าด่าง
ซึ่งเป็นเรื่องในแบบนิยายมากกว่าที่จะเป็นเรื่องจริงทางประวัติศาสตร์ เนี้อเรื่องอิงประวัติศาสตร์ในรัชสมัยฉีซวนหวางแห่งแคว้นฉีในปลายยุคชุนชิว
กล่าวถึงตัวเอก คือ “จุงอู่เหยียน”* หญิงสาวที่มีใบหน้าซีกหนึ่งสวยงามอีกซีกหนึ่งอัปลักษณ์แต่มีอิทธิฤทธิ์มาก
ตามเรื่องกล่าวว่านางเป็นเทพธิดาจุติมาเพื่อปกป้องเมืองฉีให้ปลอดภัยจากการกระทำของปีศาจเกัาหาง ซึ่งขณะนั้นได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์และต่อมาก็ได้รับตำแหน่งเป็นพระสนมคนหนึ่งของฉีซวนหวางนั่นเอง
เนี้อเรื่องของนางพญาหน้าด่างนี้
แท้ที่จริงแล้วก็น่าจะเป็นเรื่องเดียวกับนิยายเรื่อง “เจ็งฮองเฮา”
ที่มีผู้เรียบเรียบเป็นภาษาไทยแล้วตั้งแต่ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สองนั่นเอง
เพียงแต่ลักษณะการเรียบเรียงเรื่องจีนในยุคนั้นมักจะมีการแต่งเพิ่มเติม หรือมักจะใช้วิธีการแปลเอาความแล้วเรียบเรียงใหม่ตามความเดิม โดยเพิ่มเรื่องราวให้พิสดารออกไป
ดังนั้นรายละเอียดปลีกย่อยจึงแตกต่างกัน
“เจ็งฮองเฮา”
ที่เป็นภาพยนตร์โทรทัศน์กับที่เป็นนิยายจึงเต็มไปด้วยเกร็ดและอิทธิปาฏิหาริย์โดยมีความจริงอยู่เพียงบางส่วนเท่านั้น
เรื่องราวต่างๆ จึงยากที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงได้
แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น“ความจริง”ของประวัติศาสตร์มนุษยชาติไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด
ทั้งนี้เพราะเนี้อหาสาระของเรื่องนั้นอยู่ที่การใชัวิธีการต่างๆ ในอันที่จะแย่งชิงอำนาจราชบัลลังก์โดยไม่เคยมีใครคำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรมและคุณธรรมใดๆ
ทั้งสิ้น
สะท้อนให้เห็นความจริงของประวัติศาสตร์แห่งยุคที่มีการแย่งชิงอำนาจกันอยู่ใหญ่ตลอดเวลา
ทั้งที่แย่งชิงกันเป็นใหญ่ของแต่ละแคว้น
และการแย่งชิงกันเป็นใหญ่กันเองภายในแคว้น ใครที่เข้มแข็งกว่าและมีกลยุทธ์ที่แนบเนียนหรือพลิกแพลงกว่าก็ย่อมที่จะเป็นฝ่ายชนะและฝ่ายถูกต้องในที่สุด
นางพญาหน้าด่างย่อมมิใช่ภาพยนตร์ที่มีเนี้อเรื่องตรงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
แต่อาจกล่าวได้ว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เผยให้เห็นถึงสาระสำคัญของประวัติศาสตร์
ทั้งประวัติศาสตร์แห่งยุคและประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติก็ว่าได้
ซึ่งนี่นับเป็นลักษณะสำคัญของภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้ติดอยู่กับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มิอาจยืนยันถึงความจริงแท้ได้ทั้งหมด
ในขณะที่ตำราประวัติศาสตร์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลรายละเอียดที่น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง
นิยายหรือภาพยนตร์กำลังภายในกลับไม่ยึดติดอยู่กับข้อมูลรายละเอียดที่เป็นข้อเท็จจริงเหล่านั้น
แต่มักจะเน้นที่แก่นแท้ของความจริงอันเป็นลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์มากกว่า
ซึ่งลักษณะเช่นนี้มีปรากฏอยู่แทบทุกเรื่องดังที่จะได้กล่าวถึงในตอนต่อๆ ไป
*จุงอู๋เหยียนเป็นภาษาจีนกลางตรงกับภาษาจีนแต้จิ๋วว่า“เจ็งบ้อเอี่ยม”ซึ่งก็คือเจ็งฮองเฮานั่นเอง
เจ็ง (หรือเจ็งลี่หรือจุงลี่) เป็นแซ่
บ้อแปลว่าไม่มี
เอี่ยมแปลว่าความงาม
รวมความแล้วน่าจะแปลว่านางแซ่เจ็งผู้อัปลักษณ์
ส่วนชื่อจริงของนางนั้นในภาษาจีนกลางว่าจงลี่ชุน หรือ
เจ็งลี่ชุน-ในภาษาแต้จิ๋ว
ส่วนในเรื่องเลียดก๊กเรียกชื่อตามภาษาฮกเกี้ยนว่า “จงลีฉุน”
เข้าใจว่าเมื่อสุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณี
ท่านคงจะได้ต้นแบบของนางวาลีมาจากจงลี่ชุนนี่เอง
นอกจากนั้นนิทานพื้นบ้านเรื่องแก้วหน้าม้าที่มีตัวเอกของเรื่องคือนางแก้วหน้าม้า
มีลักษณะเกือบจะเป็นพิมพ์เดียวกับนางจงลี่ชุน ก็มีความเป็นไปได้ว่าน่าจะได้เคัามาจากเลียดก๊กเช่นกัน
ทั้งนี้เพราะนิทานเรื่องนี้น่าจะแต่งและพิมพ์เผยแพร่ในยุค“หนังสือวัดเกาะ”ซึ่งเป็นเวลาหลังการแปล(พ.ศ.2362)
และพิมพ์ (พ.ศ.2413) เรื่องเลียดก๊กแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น